เชียงราย
นับเป็นจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย
อีกทั้งยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน
แถมยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้บนดอยสูงที่สลับซับซ้อน
เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำและน้ำตกอันงดงามหลายแห่ง รวมถึงมีประชากรหลายเชื้อชาติ
ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อ ที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง
ซึ่งแต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์
เป็นเสน่ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
จึงไม่ต้องแปลกใจเลยหากเชียงรายจะเป็นจังหวัดอันดับต้น ๆ
ที่นักเดินทางมักคิดถึงเป็นที่แรก ๆ
2. สวนแม่ฟ้าหลวง เป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาวสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2535 บนพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ใกล้กับพระตำหนักดอยตุง สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับการออกแบบให้สวยงามตลอด 365
วัน
แปลงไม้ดอกหลากหลายพันธ์นับหมื่นดอกถูกจัดแต่งหมุนเวียนให้สวยงามไม่ซ้ำกันทั้งสามฤดู
ประกอบกับประติมากรรมเด็กยืนต่อตัวโดดเด่นอยู่กลางสวน ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่า
ความต่อเนื่อง อันตรงกับ พระราชดำริของสมเด็จย่าที่ว่า
ทำงานอะไรก็ตามจะสำเร็จได้ต้องมีความต่อเนื่อง
สวนแม่ฟ้าหลวงได้รับรางวัล พาต้าโกลด์ อะวอร์ด (PATA GOLD
AWARDS )ประจำปี 2536 ของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคแปซิฟิค
ในนามของประเทศไทย ประเภทรางวัลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
ปัจจุบันสวนแม่ฟ้าหลวงได้ขยายพื้นที่เพิ่มอีก 13 ไร่ เป็นสวนหิน สวนน้ำ สวนปาล์ม และสวนไม้ประดับ
รวมเนื้อที่สวนแม่ฟ้าหลวงทั้งหมดเป็น 25 ไร่
3.พระธาตุดอยตุง นับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ
ตามประวัติตำนานได้กล่าวไว้ว่า
พระมหากัสสะปะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ได้อาราธนาอัญเชิญเอายังพระบรมสารีริกธาตุกระดูกไหปลาร้า(พระรากขวัญเบื้องซ้าย)
ของพระพุทธเจ้า มามอบถวายแด่พระเจ้าอุชุตราชเจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี
รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์สิงหนวติ
เป็นประธานพร้อมด้วยมุขมนตรีเสวกอำมาตย์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์
ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาบรรจุสร้างขึ้น ณ ที่ดอยดินแดง
(คือดอยตุงปัจจุบัน) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1454 ต่อมาอีก
100 ปี มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า
พระมหาวชิรโพธิเถร ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบถวายให้พระเจ้ามังรายะนะธิราช
แล้วจึงได้พร้อมใจกันนำเอาพระบรมธาตุขึ้นบรรจุสร้างใหม่ขึ้นมาอีกองค์หนึ่งบนดอยตุง
พร้อมได้ปฏิสังขรณ์องค์เดิม จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏหลักฐานรายนามผู้บูรณะปฏิสังขรณ์
ลุถึง พ.ศ.2470
ครูบาศรีวิชัย
นักบุญผู้ยิ่งใหญ่แห่งลำพูนพร้อมด้วยคณะศรัทธาชาวพุทธได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์
พระวิหาร พระประธาน กาลเวลาผ่านพ้นมานานวิหารและพระประธานก็ถูกภัยธรรมชาติครอบงำชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา
ส่วนองค์พระเจดีย์นั้นยังมีรูปทรงปกติดีอยู่ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2499 ได้มีอุบาสิกาผู้หนึ่งอยู่ในจังหวัดพะเยา
ชื่อว่า นางทองคำ ฮั้นตระกูล ได้มีกุศลเจตนาอันยิ่งใหญ่
ทำการลงรักปิดทองพระเจดีย์ทั้ง 2 องค์
ให้เหลืองอร่ามไปทั่ว ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2500 องค์สรภาณมธุรส(บ๋าวเอิง)
เจ้าอาวาสวัดสมานัมบริหาร กทม. พร้อมด้วยอุบาสิกา ทองคำ ฮั้นตระกูล
ได้ทำการก่อสร้างอุโสถขึ้นหนึ่งหลังพร้อมทั้งพระประธานในอุโบสถ พระสาวก
หมอชีวกโกมารภัจ ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2507 ก็ได้มีการดำริในการที่จะบูรณะองค์พระธาตุดอยตุงครั้งใหญ่
ซึ่งได้ใช้เวลาเตรียมการและหาทุนต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายปี ลุถึง พ.ศ.2514-2516 จึงได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จไป 1 องค์ พระธาตุ 2 วิหารหลวงที่ประดิษฐานพระประธานสิงห์หนึ่งเชียงแสน
3 พระประธานสิงห์หนึ่ง
ซึ่งได้กราบทูลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาเป็นองค์เททอง
ในการบูรณะครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงองค์พระเจดีย์กันใหม่ ออกแบบโดยอาจารย์ประกิต(จิตร์) บัวบุศน์ องค์พระเจดีย์บุด้วยกระเบื้องโมเสดสีทอง มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป 8 ซุ้ม มีฉัตรประดับทั้ง 4 มุมดังที่เห็นปรากฎวันนี้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2525 ได้มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อ ไศลยนต์ ศรีสมุทร์ เจ้าของและผู้จัดการตลาดแม่สาย ได้มีกุศลเจตนาอันแรงกล้า ได้ทำการเทลานพระธาตุและพร้อมกันนั้นทางวัดก็ได้ทำการก่อสร้างรั้วรอบบริเวณลานพระธาตุอีกโสดหนึ่ง
สำหรับท่านที่ขึ้นมานมัสการพระธาตุนั้น ท่านจะสังเกตุเห็นว่าวัดพระธาตุดอยตุงนั้นจะมีบริเวณ 2 เขตด้วยกันคือ ชั้นบนนั้นจะเป็นเขตพุทธาวาส นับเอาตั้งแต่ประตูวัดที่มียักษ์นั่งถือขวานอยู่นั้นขึ้นไป ท่านห้ามไม่ให้ใครทำสกปรกรุงรัง เช่น ถ่ายหนัก ถ่ายเบา เพราะห้องน้ำไม่มี จากที่ประตูวัดลงมา 1 กิโลเมตร เป็นเขตสังฆาวาส เป็นที่อยู่พำนักของพระสงฆ์องค์เณรและประชาชนทั่วไป
ก่อนขึ้นมานมัสการพระธาตุ กรุณาจอดรถเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนที่วัดน้อย 1 กิโลเมตร
ในการบูรณะครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปทรงองค์พระเจดีย์กันใหม่ ออกแบบโดยอาจารย์ประกิต(จิตร์) บัวบุศน์ องค์พระเจดีย์บุด้วยกระเบื้องโมเสดสีทอง มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูป 8 ซุ้ม มีฉัตรประดับทั้ง 4 มุมดังที่เห็นปรากฎวันนี้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ.2525 ได้มีอุบาสกคนหนึ่งชื่อ ไศลยนต์ ศรีสมุทร์ เจ้าของและผู้จัดการตลาดแม่สาย ได้มีกุศลเจตนาอันแรงกล้า ได้ทำการเทลานพระธาตุและพร้อมกันนั้นทางวัดก็ได้ทำการก่อสร้างรั้วรอบบริเวณลานพระธาตุอีกโสดหนึ่ง
สำหรับท่านที่ขึ้นมานมัสการพระธาตุนั้น ท่านจะสังเกตุเห็นว่าวัดพระธาตุดอยตุงนั้นจะมีบริเวณ 2 เขตด้วยกันคือ ชั้นบนนั้นจะเป็นเขตพุทธาวาส นับเอาตั้งแต่ประตูวัดที่มียักษ์นั่งถือขวานอยู่นั้นขึ้นไป ท่านห้ามไม่ให้ใครทำสกปรกรุงรัง เช่น ถ่ายหนัก ถ่ายเบา เพราะห้องน้ำไม่มี จากที่ประตูวัดลงมา 1 กิโลเมตร เป็นเขตสังฆาวาส เป็นที่อยู่พำนักของพระสงฆ์องค์เณรและประชาชนทั่วไป
ก่อนขึ้นมานมัสการพระธาตุ กรุณาจอดรถเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนที่วัดน้อย 1 กิโลเมตร
4.การเดินทาง
พระตำหนักดอยตุงอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย
60 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 110 ไป 45 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1149 ไปประมาณ 15 กิโลเมตร
สำหรับนักท่องเที่ยว
ที่เดินทางโดยรถประจำทางสามารถใช้บริการรถสองแถวสีม่วงบริเวณปากทาง
รถออกตั้งแต่ 07.00 น.
มีรถออกทุก 20 นาที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น